ขั้นตอนในการผลิตงานสำหรับทำการ์ตูนแอนิเมชัน


ขั้นตอนการผลิตงานสำหรับทำการ์ตูนแอนิเมชันโดยทั่วไปแล้วมีพื้นฐานดังต่อไปนี้


Idea (ไอเดีย) หรือบางคนอาจใช้คำว่า แรงบันดาลใจ ( Inspiration )

ซึ่งจะเป็น สิ่งแรกที่เราสร้างสรรค์จินตนาการและ ความคิด ของเราว่าผู้ชมของเราควรเป็นใคร อะไรที่เรา ต้องการ ให้ผู้ชมทราบ ภายหลัง จากที่ชมไปแล้ว ควรให้เรื่องที่เราสร้า ออกมา เป็นสไตล์ไหน ซึ่งอาจจะมาจาก ประสบการณ์ ที่เราได้อ่านได้พบเห็น และสิ่งต่างๆ รอบตัวเป็นต้น






Theme (โครงเรื่อ ง) โครงเรื่องจะประกอบไปด้วยการเล่าเรื่องที่บอกถึงเนื้อหาเรื่องราวทุกอย่างใน ภาพยนตร์ทั้งตัวละคร ลำดับเหตุการณ์ ฉาก แนวคิด และที่สำคัญเราควรพิจารณาว่าการเล่าเรื่องควรจะมีการหักมุมมากน้อยเพียงไร สามารถ สร้างความ บันเทิงได้หรือไม่ และความน่าสนใจนี้สามารถทำให้ผู้ชมรู้สึกประทับใจ จนสามารถระลึกในความทรงจำ และทำให้คนพูดถึง ตราบนานเท่านานหรือเปล่า

Port (เรื่องย่อ) เรื่อง ย่อคืออะไร เรื่องย่อคือ เรื่องเล่าย่อ ๆ ของทั้งเรื่อง ส่วนใหญ่มักจะจบใน 1 หน้า A4 ถ้าใครอยากรู้เรื่องย่อ เป็นยังไงให้ดูที่หลัง DVD หนังไทย อาทิเช่น แฟนฉัน อะไรอย่างนี้ การเขียนเรื่องย่อ ไม่ต้องทำติส เขียนแบบทิ้งทายเป็นทีเซอร์หนังนะ
แบบลงท้ายว่า
"และเค้าจะเป็นอย่างไรต่อไป เค้าจะไปที่ไหน คุณเท่านั้นที่รู้ "
( คนเขียนมันยังไม่รู้เลย แล้วคนดูจะรู้เหรอฟะ)

เพราะ เราไม่ได้เอาไปเสนอขายใคร เราต้องส่งต่อให้คนเขียนบท (หรือตัวคุณเอง) เพราะฉะนั้นทำใจครับ เขียนให้ชัดเจน แบบต้องเฉลยตอนจบของ six senses ก็ต้องยอม




Script (บท)เป็น ขั้นตอนในการจับใจความสำคัญของเนื้อเรื่องให้ออกมาในแต่ละฉาก พร้อมทั้งกำหนดมุมกล้อง เทคนิคพิเศษ รวมถึงระยะเวลาของการเคลื่อนไหว โดยให้รายละเอียดต่างๆเช่น ผู้จัดทำ เสียงดนตรี ( Musidcians ) เสียงประกอบ ( Sound Effects ) จิตกรในการวาดหรือนักออกแบบตัวละคร ( Artists ) และแอนิเมเตอร์ ( Animators ) สร้างภาพให้กับตัวละคร

( Characters Design ) ขั้นตอนนี้เป็นการออกแบบและกำหนดลักษณะนิสัย บุคลิกบทบาทต่างๆ และท่าทางการเคลื่อนไหว ให้กับตัวละคร โดยอาศัยองค์ประกอบพื้นฐานของการออกแบบ ได้แก่ ขนาด ( Size ) รูปทรง ( Shape ) และสัดส่วน

( Proportion )

บท คืออะไร บทคือตัวหนังสือที่เล่าเรื่องราวของการดำเนินเนื้อเรื่องแบบอ่านแล้วเห็นภาพ เป็นฉากๆเลย มีการบอกมุมกล้อง เทคนิคถ่ายทำ และ บทพูดไว้อย่างชัดเจน
ผมจะยกตัวอย่างบทจากหนังสือเรื่อง "ลมหลง" ของ คุณน้าชาติ กอบจิตติ มา ณ ที่นี้ครับ
-------------------------------------------------
SEQ ไตเติ้ล ภายใน ผับแห่งหนึ่ง กลางคืน
1. ใกล้มาก
ในความมืด ตัวอักษรชื่อเรื่อง ลมหลง ค่อยปรากฎขึ้นสักครู่ตัวอักษรเลือนหายไป เหลือไว้แต่ความมืด เสียงผู้คนในผับค่อยดังขึ้น เป็นเสียงสรวลเสเฮฮา มีเสียงดนตรีแว่ผสม เป็นเสียงแซ็กโซโฟน (ท่วงทำนองโหยเศร้า- ใช้เป็นเพลงประกอบหลักของภาพยนตร์เรื่องนี้

2. แทนสายตา (กล้องหนัง 16 มม มีเสียงกล้องทำงานตลอด)
ในความมืด ไม่ขีดไฟถูกจุดขึ้น แสงสว่างของมันทำให้เห็นเสลด (ป้ายบอกชื่อเรื่อง, ฉาก , คัต เป็นหนังของสายลม-สเลตของเขาเขียนแต่เพียงว่า "ในผับ 1" ) สักครู่ภาพดับวูปไป ทิ้งไว้แต่ความมืด...
ตัวอักษรผู้แสดงปรากฎขึ้น เสียงผู้คนและเสียงแซ็กโซโฟนดังต่อเนื่อง- ตัวอักษรเลือนออก

3.ใกล้มาก
ภาพเลื่อนเข้าที่แซ็กโซโฟน เห็นนิ้วของนักดนตรีกำลังไล่เรียงไปตามท่วงทำนอง ภาพเลือนออกไปเป็นความมืด
ตัวอักษรรายชื่อผู้แสดง และผู้ที่เกี่วข้องกับภาพยนตร์เรื่องนี้ขึ้น-ต่อเนื่อง ตัวอักษรเลือนออก

---------------------------------------------------
นี่คือตัวอย่างคร่าว ๆ ของบทภาพยนตร์ครับ
อธิบายซะหน่อย

SEQ ไตเติ้ล ภายใน ผับแห่งหนึ่ง กลางคืน
แปลว่า
ส่วนไตเติ้ล ถ่ายภายใน (indoor) สถานที่ที่ ผับแห่งหนึ่ง เวลากลางคืน
จากนั้นก็เป็น มุมกล้อง และการเคลื่อนกล้อง
คำว่า "แทนสายตา" ก็แปลตรงตัวครับ ภาพแทนสายตา ของ กล้อง 16 มม

ยังมีคำว่า แพน ดอลลี่ช๊อต หรือ ข้ามไหล่อีก เยอะแยะครับ อย่างที่เคยสอนไว้แล้วน่ะ
แพน - เคยสอนไว้แล้ว
ดอลลี่ - คือไอ้รางรถไฟ แล้วเอาคนไปยืนที่แท่นบนราง แล้วใช้คนเข็นราง จะได้ภาพคล้าย ๆ แพน แต่ไม่มีการบิดของ perspective
ข้ามไหล่ คือ ภาพที่เห็นด้านหนัลของไหล่คนนึง แต่เน้นหน้าของอีกคน ในหนังทั่วๆไปใช้อยู่บ่อยๆ

Storyboards (บอร์ดภาพนิ่ง) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า สตอรีบอร์ด เป็นการใช้ภาพในการเล่าเรื่องให้ได้ครบถ้วน ทั้งเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นอารมณ์ในเหตุการณ์นั้นๆสีหน้า ท่าทาง ลักษณะต่างๆของตัวละครบอกถึงสถานที่ และมุมมองของภาพ ซึ่งภาพวาดทั้งหมด จะเรียงต่อเนื่องเป็นเหตุผลกัน เมื่อดูแล้วสามารถเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้อย่างชัดเจน

เมื่อเราได้ Story board แล้วค่อยมาแตกเป็น shooting board อีกครั้ง Shooting board จะเมือนกับ Story board เลย แต่ความละเอียดสูงกว่า มีทุกภาพที่จะอยุ่ในหนัง Animation ของเรา เพื่อจะให้คนทำต่อทำได้อย่างถูกต้อง



ตัวอย่าง shooting board จาก www.wildbrain.com


Sound Recording (บันทึกเสียง) หลังจากที่เราได้ออกแบบตัวละครและสร้างสตอรีบอรด์เรียบร้อยแล้ว เราก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการอัดเสียง ซึ่งเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างยิ่ง บางสตูดิโออาจจะเริ่มต้นด้วยการอัดเสียง Soundtrack ก่อน ซึ่งการอัดเสียงประกอบแอนิเมชันจะแยกออกเป็นประเภทของเสียงโดยหลักแล้วจะมี ดังนี้คือ


- เสียงบรรยาย ( Narration ) เป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเข้าใจ เป็นการปูพื้นฐานให้กับผู้ชมว่าเรื่องเป็นอย่างไร และยังเป็นการเชื่อมโยงให้เรื่องราวติดต่อกันด้วย


- บทสนทนา ( Dialogue ) เป็นหลักการหนึ่งในการสื่อเรื่องราวตามบทบาทของตัวละคร เป็นการสื่อความหมายให้ตรง ตามเนื้อเรื่องที่สั้น กระชับ และสัมพันธ์กับภาพ


- เสียงประกอบ ( Sound Effects ) เป็นเสียงที่นอกเหนือจากบรรยาย เสียงสนทนา เสียงประกอบจะทำให้เกิดรู้สึก สมจริงสมจัง มีจินตนาการเช่น เสียงระเบิด เสียงฟ้าร้อง เป็นต้น ราวกับได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์หรือสถานที่นั้นด้วย


- ดนตรีประกอบ ( Music ) ช่วยสร้างอารมณ์ของผู้ชมให้คล้อยตามเนื้อหาและปรับอารมณ์ของผู้ชมระหว่างการเชื่อมต่อของ

ฉากหนึ่งไปยังอีกฉากหนึ่งได้ด้วย


Animatic Checking (ตรวจความเรียบร้อยของแอนิเมชั่น) Animatic คือการนำภาพที่วาดโดยช่างศิลป์ตามแนวคิด สร้างสรรค์มาประกอบกันเข้าเป็นเรื่องราวพร้อมเสียง ประโยชน์ของการทำ Animatic คือเวลานำเสนองานงานแอนิเมชั่นเบื้องต้น จะไม่หยาบเกินไปสามารถสื่อแนวคิดหลักใหญ่ๆ ช่วยให้นักสร้างสรรค์สามารถทบทวนแนวความคิดก่อนที่จะผลิตเป็น ภาพยนตร์ทบทวนกรอบเวลา การดำเนินเรื่องราวเหตุผลที่สามารถอธิบายได้อย่างต่อเนื่อง สามารถปรับแต่งเพิ่มเติมภาพหรือ ตัดเข้าสู่ฉากอื่นได้ทันที เพื่อให้ได้งานที่มีอารมณ์จังหวะ และองค์ประกอบที่ใกล้เคียงก่อนการทำแอนิเมชั่น

Animatic คือ ภาพเคลื่อนไหวคร่าวๆ ทำให้เห็นจังหวะของภาพ เห็นการตัดต่อ การเคลื่อนของ Animation ไม่ต้องซอยแฟรมเยอะ ปกติจะใส่เสียงไปด้วยเลย ตัวอย่างนี้


ที่มา : อาจารย์เลย์(Layiji) จาก http://www.f0nt.com/forum/index.php?topic=4881.0


Refining the Animation (ปรับแต่งชิ้นงาน) หลังจากที่เราได้ทำ Animatic แล้วจะต้องนำไปปรับปรุงและ ตกแต่งแก้ไขสตอรีบอร์ด และขั้นตอนอื่นๆ โดยละเอียด เช่น ลักษณะงานศิลป์ ( Character Art ) ฉากหลัง ( Background ) เสียง

( Sound ) เวลา ( Timeing ) และส่วนประกอบอื่นๆจนกระทั่งเข้าสู่การผลิตงานแอนิเมชั่นต่อไป โดยการวาดเส้นด้วยคอมพิวเตอร์ การลงสีฉากและตัวละคร ภาพประกอบและเสียงต่อไป ( Composting )ซึ่งในอดีตการปรับเปลี่ยนแผนงานการทำ ภาพยนตร์การ์ตูน มีค่าใช้จ่ายสูง แต่ในปัจจุบันนี้ได้นำระบบดิจิตอลคือคอมพิวเตอร์นั่นเองเข้ามาช่วยในการ สร้างงานแอนิเมชั่นทำให้ประหยัด ค่าใช้จ่ายได้มากขึ้น เช่น


การสร้าง Character Model Sheet


การออกแบบ Character จะมีหลักการอยู่ 2 เรื่อง คือ Style และ Profile

Profile Data เป็นสิ่งสำคัญมากๆสำหรับงานออกแบบ Character คือข้อมูลที่บอกบุคลิกลักษณะตัวละคร มีอยู่

Style เป็นการเลือกสไตล์ของตัวการ์ตูนว่าจะออกมาแนวไหน เช่น แนวจริงจัง แนวน่ารักคิกขุ ใช้ลายเส้นแบบไหน สีสัน




ความหมายแอนิเมชัน (Animation)

แอนิเมชัน (Animation) หมายถึง กระบวนการที่เฟรมแต่ละเฟรมของภาพยนตร์ ถูกผลิตขึ้นต่างหากจาก กันทีละเฟรม แล้วนำมาร้อยเรียงเข้าด้วยกัน โดยการฉายต่อเนื่องกัน ไม่ว่าจากวิธีการ ใช้คอมพิวเตอร์กราฟิก ถ่ายภาพรูปวาด หรือ หรือรูปถ่ายแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อย ๆ ขยับเมื่อนำภาพดังกล่าวมาฉาย ด้วยความเร็ว ตั้งแต่ 16 เฟรมต่อวินาที ขึ้นไป เราจะเห็นเหมือนว่าภาพดังกล่าวเคลื่อนไหวได้ต่อเนื่องกัน ทั้งนี้เนื่องจาก การเห็นภาพติดตาในทาง คอมพิวเตอร์ การจัดเก็บภาพแบบอนิเมชันที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอินเทอร์เน็ต ได้แก่เก็บในรูปแบบ GIF MNG SVG และ แฟลช

คำว่า แอนิเมชั่น (animation) รวมทั้งคำว่า animate และ animator มากจากรากศัพท์ละติน "animare" ซึ่งมีความมหมายว่า
ทำให้มีชีวิต ภาพยนตร์แอนิเมชั่นจึงหมายถึงการสร้างสรรค์ลายเส้นและรูปทรงที่ไม่มีชีวิต ให้เคลื่อนไหวเกิดมีชีวิตขึ้นมาได้
(Paul Wells , 1998 : 10 )

แอนิเมชั่น (Animation) หมายถึง "การสร้างภาพเคลื่อนไหว" ด้วยการนำภาพนิ่งมาเรียงลำดับกัน และแสดงผลอย่างต่อเนื่อง
ทำให้ดวงตาเห็นภาพที่มีการเคลื่อนไหวในลักษณะภาพติดตา (Persistence of Vision) เมื่อตามนุษย์มองเห็นภาพที่ฉา่ย อย่างต่อเนื่อง เรตินาระรักษาภาพนี้ไว้ในระยะสั้นๆ ประมาณ 1/3 วินาที หากมีภาพอื่นแทรกเข้ามาในระยะเวลาดังกล่าว
สมองของมนุษย์จะเชื่อมโยงภาพทั้งสองเข้าด้วยกันทำให้เห็นเป็นภาพเคลื่อนไหว ที่มีความต่อเนื่องกัน แม้ว่าแอนิเมชั่นจะใช้หลักการเดียว
กับวิดิโอ แต่แอนิเมชั่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับงานต่างๆ ได้มากมาย เช่นงานภาพยนตร์ งานโทรทัศน์ งานพัฒนาเกมส์ งานสถาปัตย์
งานก่อสร้าง งานด้านวิทยาศาสตร์ หรืองานพัฒนาเว็บไซต์ เป็นต้น (ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ : 2552 : 222 )

สรุปความหมายของแอนิเมชั่นคือ การสร้างสรรค์ลายเส้นรูปทรงต่างๆให้เกิดการเคลื่อนไหวตามความคิดหรือ จินตนาการ


ปิยกุล เลาวัณย์ศิริ (2532 : 931-932) ได้สรุปหลักการและคุณสมบติของภาพยนตร์แอนิเมชั่นเอาไว้ดังนี้
1. สามารถใช้จินตนาการได้อย่างไม่มีขอบเขต
2. สามารถอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนและเข้าใจยากให้ง่ายขึ้น
3. ใช้อธิบายหรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นนามธรรมให้เป็นรูปธรรมได้
4. ใช้อธิบายหรือเน้นส่วนสำคัญให้ชัดเจนและกระจ่างขึ้นได้



ชนิดของแอนิเมชั่นสามารถแบ่งออกได้เป็นสามชนิดคือ

1. Drawn Animation คือแอนิเมชั่นที่เกิดจากการวาดภาพหลายๆพันภาพ แต่การฉายภาพเหล่านั้นผ่านกล้องอาจใช้เวลาไม่กี่นาที
ข้อดีของการทำแอนิเมชั่นชนิดนี้คือ มีความเป็นศิลปะ สวยงาม น่าดูชม แต่ข้อเสีย คือ ต้องใช้เวลาในการผลิตมาก ต้องใช้แอนิเมเตอร์
จำนวนมากและต้นทุนก็สูงตามไปด้วย





2. Stop Motion หรือเรียกว่า Model Animation เป็นการถ่ายภาพแต่ละขณะของหุ่นจำลองที่ค่อยๆขยับ อาจจะเป็นของเล่น
หรืออาจจะสร้างตัวละครจาก Plasticine วัสดุที่คล้ายกับดินน้ำมันโดยโมเดลที่สร้างขึ้นมาสามารถใช้ได้อีกหลายครั้ง
และยังสามารถผลิตได้หลายตัว ทำให้สามารถถ่ายทำได้หลายฉากในเวลาเดียวกัน แต่การทำ Stop Motmotion นั้น
ต้องอาศัยเวลาและความทุ่มเทมาก เช่น การผลิตภาพยนตร์เรื่อง James and the Giant Peach สามารถผลิตได้ 10 วินาที
ต่อวันเท่านั้น วิธีนี้เป็นงานที่ต้องอาศัยความอดทนมาก





3. Computer Animation ปัจจุบันมีซอฟท์ที่สามารถช่วยให้การทำแอนิเมชั่นง่ายขึ้น เช่น โปรแกรม Maya, Macromedia
และ 3D Studio Max เป็นต้น วิธีนี้เป็นวิธีที่ประหยัดเวลาการผลิตและประหยัดต้นทุนเป็นอย่างมาก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง
Toy Story ใช้แอนิเมเตอร์เพียง 110 คนเท่านั้น


ที่มา http://sillapagum.com/animation/Meaning.html


การเล่าเรื่องด้วยภาพ

การ สื่อความหมายแทนที่จะบรรยายด้วยข้อความเรากลับใช้ภาพเป็นตัวเล่าเรื่อง ดังนั้นการจัดลำดับภาพจะต้องแสดงให้เห็นถึง ความต่อเนื่องของการกระทำ ( Action Continuity ) ซึ่งมีหลักการพื้นฐานสองข้อคือ

ก. ถ้าวัตถุมีการเคลื่อนไหว จะต้องคำนึงถึงความต่อเนื่องของการกระทำ ( Action Continuity )ซึ่งจะทำให้การเคลื่อนไหวนั้น ไม่ผิดธรรมชาติ

ข. ถ้าวัตถุไม่มีการเคลื่อนไหว สามารถนำภาพซึ่งเป็นเหตุการณ์ในเวลาต่อมามาใช้ได้



สมมุติเหตุการณ์ง่ายๆ สั้นๆ อันหนึ่งว่า “ อ๊อดไปโรงเรียนหลังจากรับประทานอาหารเช้า ดังแสดง ดังนี้
































วิธีการเดินและวิ่ง  Walk & Runเดิน (Walk)

        แน่นอนที่สุด  ถ้าเราทำหนังสักเรื่องตัวละครเราต้องมีบทเดิน  จึงจำเป็นอย่างมากที่เราตองศึกษาวิธีการเดินของคน  ซึ่งมีแต่ลักษณะต่างกันไปตาม คุณสมบัติเช่น  คนหนุ่ม  คนแก่ และเด็กเป็นต้น  ซึ่งจังหวะและเวลาการเดินจะไม่เท่ากัน  ในที่นี้จะเป็นแนวทางและหลักง่ายๆเพื่อให้เข้าใจก่อน
ในจังหวะย่างก้าวโดยปกติ คนปกติที่แรงทั่วไป  การก้าว 1 ก้าว  จะอยู่ที่ 12-13 รูป  ถ้า 2 ก้าว ก็ 24-26 รูป ในระบบ 25 F/1 sec เพราะฉะนั้นการเดินไป 1 ก้าว  ก็ใช้เวลา  1/2 วินาทีและ 2 ก้าวก็ประมาณ 1 วินาที
      การวิ่ง (Run) ลักษณะการวิ่งจะมีภาพน้อยกว่าการเดินเพราะจะต้องใช้ความไวในการก้าวจึงมีเพียง 7 รูปเท่านั้น ต่อ 1 ก้าวและให้ใช้เป็น on 1







 


การยกของที่มีน้ำหนักและสิ่งที่เป็นของหนัก Weight
การยกของหนัก (Weight)


       การยกสิ่งที่ให้รู้สึกว่าหนักนั้น  ก่อนยกขึ้นให้ร่างกายพร้อมศีรษะยกขึ้นไปก่อนที่จะยกตัวและลุกขึ้น  และก่อนยกช่วงขาจะชิดใกล้วัตถุ  จึงมีกำลังยกขึ้น
     การยกของหนักจะต้องเดินไปด้วยลักษณะการก้าวเดินเป็น Slow in Fast คือขาต้องรีบก้าวเพื่อไม่ให้การแบกน้ำหนักต้องถ่วง อีกข้างหนึ่งช้าเกินไปนั่นเอง

      การลาก  หรือดึงของที่มีน้ำหนักก็จะคล้ายกัน  ของหนักจะไปทีละนิดเพราะเราต้องส่งพลังทั้งหมดดึงเข้าหาตัวเองอย่างว่องไว


 
 
 
หลักการสะดุ้ง The  Take

    The  Take ตัวอย่าง Take  ที่มีทั้ง on 2 และ   on 1 ซึ่งสามารถปรับตามจังหวะของการสะดุ้งแล้วแต่
เหตุการณในการแสดงนั้นๆ แต่หลักของ  Take  ที่เป็น key ใหญ่ๆมีอยู่ 4  key คือ มองเห็น หลับตากลัว  ตกใจ  หรือ สะดุ้ง  ผ่านพ้นไปลักษณะของการสะดุ้งนั้นถ้าจะให้มีความน่าสนใจกว่าปกติควรให้ อิริยาบถแตกต่างในช่วงจังหวะสะดุ้งขึ้น  และตอน
สะดุ้ง ลงจะสร้างความรู้สึกและอารมณ์ได้มาก  และสนุกตลกไม่ซ้ำซากหรือจำเจ

 
 
การสนทนา  Dialouge
                                                                                         
       การขยับปากจะมีท่าหลักๆอยู่ไม่ กี่ท่า  ในแต่ละท่าของปากบางคำจะเหมือนกันและนำรูปของปากมาใช้ซ้ำกันได้  ทั้งนี้ต้องดูว่ามุมมองอยู่ตรงตำแหน่งเดียวกันหรือไม่เท่านั้น
       ในภาษาอังกฤษจะง่ายต่อการขยับ ปากเทียบกับภาษาอื่นแล้วที่การขยับปากจะยากมาก  เช่น  ภาษาจีน  ภาษาอินเดีย  หรือภาษาที่ต้องผันลิ้นมากๆเป็นต้น  ในภาษาไทยเราก็ไม่ยากเท่าไหร่ 
 
 


สัตว์ 4 เท้าเป็นอย่างไร  และเดินกันแบบไหน

      ก่อนที่เราจะวาดภาพการเคลื่อนไหวของสัตว์  เราควรต้องรู้โครงสร้างของสัตว์ที่เราจะวาดเสียก่อน  ในที่นี้จะกล่าวถึงสัตว์ 4 เท้า  ที่เห็นความชัดเจนที่สามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. แบบมีกีบ   เช่น ม้า, กวาง ฯลฯ
2. แบบอุ้งเท้าที่มีเล็บ เช่น แมว, เสือ  ฯลฯ
     การศึกษาการวาดภาพสัตว์ที่ดี  นอกจากดูภาพแล้วควรหาโอกาสไปดูของจริงตัวเป็นๆที่สวนสัตว์  จะรู้ถึงความรู้สึกในการวาดสัตว์นั้นๆ

 การทำเทคนิคพิเศษ Effect

    การทำเทคนิคพิเศษ  ปัจจุบันการทำเทคนิคพิเศษได้พัฒนาเป็นงาน 3D Animation ที่สมจริงและง่ายต่อการทำ  จึงนิยมเอางาน ดังกล่าวมาประมวลผลออกมาเป็น  2D ได้เลย  ทำไห้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาอย่างมาก  แต่เราก็ต้องควรรู้และศึกษาการทำเทคนิคนี้  เพราะเป็นงานที่บอกถึงอารมณ์ล้วนๆวาดจากความรู้สึกที่อยากให้มันเป็น  มันเคลื่อนไหว  เหมือนงานจิตกรที่เล่าเรื่องได้ออกมาอย่างวิเศษ
การทำ  3D อาจเหมือนจริงแต่ไม่มีความเป็นงานศิลปะเหมือนงานวาดด้วยมือ

 



ความคิดเห็น